top of page

วัดร้องหลอด

ตำนานของบ้านร้องหลอด  (โดยคุณแม่นอย  จันทร์ประสิทธิ์)

 

          ท่านเล่าว่าตอนที่ท่านอายุได้  12  ปี ได้อ่านตำนานพระพุทธเจ้าว่าได้มาแว่ที่พระธาตุจอมแว่ ก้ได้มีมารมาแคะขี้ไคลปั้นเป็นหนูไปกัดจีวรพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าก็ได้แคะขี้ไคลปั้นเป็นแมวไปกัดหนู แล้วพระพุทธองค์ก้ได้เดินไปเสาะหาฝ้ายจะมาเย็บจีวร  ก็ได้เดินทางไปแจ้งที่วัดจอมแจ้งก็บ่ได้ฝ้าย  จึงได้เดินทางกลับมาที่ร้องหลอด  ก็มาได้ฝ้ายที่บ้านร้องหลอด  เลยตั้งชื่อว่า  “บ้านร้องหลอด”  มาจนปัจจุบันนี้  (ปัจจุบันแม่นอยอายุได้  90  กว่ากว่า ซึ่งล่วงมาแล้ว 80  กว่าปี) 

 

ประวัติทั่วไปของบ้านร้องหลอด

 

        หมู่บ้านร้องหลอด ตั้งมาเมื่อประมาณ  150  ปี  ที่ผ่านมา  ในอดีตมีบ้านเรือนตั้งอยู่ประมาณ  30  กว่าหลังคาเรือน ซึ่งได้เดินทางมาจากหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น       จ.ลำปาง   จ.เชียงใหม่  จ.ลำพูน  และ จ.พะเยา   ในอดีตบริเวณนี้จะเป็นสันคือยาวมาจากทางทิศเหนือถึงด้านทิศใต้     ยาวประมาณ  1  กิโลเมตร  เป็นสันคือยาว   ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นบางส่วน ที่สร้างขึ้นเพื่อกั้นน้ำหนองป่ามน  (ปัจจุบันยังคงมีให้เห็นซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของสถานีขนส่งพาน)  ในบริเวณที่นั้นคือจะเต็มไปด้วยป่าไม้ไผ่  เป็นที่กั้นน้ำหนองป่ามน  หนองป่ามนในสมัยก่อนเป็นหนองขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดมาจากน้ำที่ใหลมาจากดอยจอมแว่  จะใหลมาทางดอยหลิ่งน้ำจำ  มาสู่หนองป่ามน ทางด้านทิศใต้ของสันคือ  น้ำหนองป่ามนได้ซัดสันคือ  เกิดเป็นร่องแอ่งน้ำวนใหลผ่าน  ชาวบ้านในสมัยนั้น จึงเรียกว่า “ ร้อง” และได้เรียกหมู่บ้านว่า  “บ้านร้อง”  ซึ่งเข้ารวมกับบ้านทุ่ง

 

        คำว่าร้องหลอด คนในสมัยก่อนได้เล่าให้ลูกหลานฟังไว้ว่า ได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง ได้มาปักกลดใกล้หมู่บ้าน  ในตอนเช้าได้ออกรับบิณฑบาตในหมู่บ้าน  ชาวบ้านสมัยนั้นมีการปลูกฝ้าย  เพื่อทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม  เมื่อชาวบ้านเห็นพระธุดงค์มา บิณฑบาต  จึงได้นำข้าวปลาอาหารมาใส่บาตร  พร้อมกับนำฝ้ายเป็นหลอดใส่บาตรไปด้วย  เมื่อพระธุดงค์ได้ให้พรแก่ญาติโยม แล้วท่านได้แลไปเห็นบริเวณร้องมีน้ำเขียวชอุ่ม มีต้นไม้ไผ่รอบ ท่านเงยหน้าขึ้น แล้วกล่าวว่าน่าจะใส่ชื่อบ้านว่า “บ้านร้องหลอด”  อนาคตข้างหน้าจะมีความอุดมสมบูรณ์เป็นบ้านอู่ข้าวอู่น้ำ  จึงเป็นชื่อบ้านที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน

        ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างที่พักสงฆ์ขึ้น เพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน โดยได้นิมนต์  พระอิติ  จากจังหวัดลำปาง มาเป็นเจ้าสำนัก  เป็นเวลาหลายปีต่อมา เมื่อปี  พ.ศ 2415  ก็ได้มีการสร้างเป็นวัด  และได้ตั้งชื่อวัดว่า   “วัดเชตะวัน”  มีความหมายว่า เป็นเวณสวนไผ่  ซึ่งตรงกับบริเวณที่ตั้งวัด  ที่ใกล้กับสันคือกั้นน้ำหนองป่ามน ที่เต็มไปด้วยป่าไผ่ (จากคำบอกเล่า ได้มีการค้นพบป้ายวัด  เป็นอักษรล้านนาที่เขียนว่า.....................และฆ้องเก่า    ภายในบ่อน้ำด้านทิศตะวันตกของวัด    ปัจจุบันนี้ได้มีการถมไปแล้ว นอกจากนั้นยังมีการขุดพบพระสิงห์สาม จำนวน 2 องค์  ซึ่งยังมีให้ได้สักการะจนถึงปัจจุบัน )  ต่อมาเมื่อมีจำนวนครัวเรือนมากขึ้น ก็ได้แยกหมู่บ้านจากที่เข้ารวมกับบ้านทุ่ง ก็แยกเป็นบ้านร้องหลอด  โดยมีพ่อแก่ท๊อก  (ผู้ช่วย) ควาย  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก  และจำนวนประชากรในหมู่บ้านก็ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  การเปลี่ยนชื่อมาเป้นวัดร้องหลอดเปลี่ยนเมื่อใดก็ไม่ทราบแน่ชัด ส่วนสาเหตุคงจะเป็นเพราะให้จำง่าย  และเข้ากับชื่อหมู่บ้าน

 

        และเมื่อวันที่ 9  กันยายน  2546  บ้านร้องหลอดได้มีการแยกเป็น 2  หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 3  และหมู่ที่ 24  ซึ่งได้แยกกันพัฒนาในหมู่บ้านให้ได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้นโดยมี  นายสาย  ชัยชมภู  เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3   นายบุญมา  พันธ์ดี เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 24  ปัจจุบันนี้ทั้งสองหมู่บ้านก็ยังคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  โดยเฉพาะเมื่อมีกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ก็จะร่วมด้วยช่วยกันทั้งกำลังทรัพย์  กำลังกายในการพัฒนา โดยมีวัดร้องหลอดเป็นศูนย์รวมจิตใจ  มีศูนย์วัฒนธรรมกลุ่มยุวพุทธวัดร้องหลอด  มีชมรมผู้สูงอายุ  แม่บ้าน   ผู้นำชุมชน ทุกส่วน คณะกรรมการเป็นผู้ช่วยกันผลักดัน  สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดขึ้น  เมื่อมีปัญหาก็ร่วมกันแก้ไขปัญหานั้นๆ

 

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน

 

1.      พ่อแก่ท๊อก  (ผู้ช่วย)ควาย  ซึ่งได้แยกหมู่บ้านมาจากบ้านทุ่ง

2.      พ่อหลวงธรรมจัยแก้ว  จอมจักร

3.      พ่อหลวงแก้ว  ฝั้นปิมปา

1.      พ่อหลวงฝ้าย  ชัยชมภู

2.      พ่อหลวงมี  แก้วมูล

3.      พ่อหลวงอุ่น  จอมจักร

4.      พ่อหลวงแก้ว  อุโมงค์

5.      พ่อหลวงมูล  ฝั้นปิมปา

6.      พ่อหลวงนิด  ฝั้นปิมปา

7.      พ่อหลวงสาย  ชัยชมภู

8.      พ่อหลวงราชิต  ปันสุวรรณ

9.      พ่อหลวงสาย  ชัยชมภู  (สมัยที่ 2)  หมู่ที่ 3

10. พ่อหลวงบุญมา  พันธ์ดี   (หมู่ที่ 24)

11. พ่อหลวงสมนึก  พรมตัน  (หมู่ที่ 24)  ปัจจุบัน

12. พ่อหลวงมงคล  แสนงามเมือง  (หมู่ที่ 3)ปัจจุบัน

***ข้อมูลได้มาจากการสอบถามจาก แม่อุ้ยแปง  ศรีวิชัย  (ผู้มีอายุมากที่สุดในบ้านร้องหลอด)  และผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน

 

ลำดับเจ้าอาวาส เท่าที่จำได้

 

1.พระอิติ     

2.พระครูทองแดง  ยโสธโน                  

3.พระชัยขนะ  

4.พระอธิการกระจ่าง  ฐานวโร

5.พระอธิการกิตติศักดิ์  วิสุทธสีโล          

6.พระอธิการจรูญ  คุณสํวโร  2540- ปัจจุบัน

 

 

 

ประวัติการสร้างพระธาตุจอมเวียงเมืองพาน

            พระธาตุจอมเวียงเมืองพาน  เดิมคณะกรรมการวัดยังไม่ได้ลงความเห็นว่าจะชื่ออย่างนี้เพียงแต่ตั้งขึ้นตามชื่อพระประธานในอุโบสถที่ชื่อว่าหลวงพ่อดวงดีศรีแสนสุขเลยกำหนดว่าควรจะให้ชื่อพระธาตุดวงดีศรีแสนสุข  เป็นพระธาตุที่ได้สร้างโดยมีลักษณะคล้ายองค์พระธาตุหริภุญชัย  โดยความคิดริเริ่มของผู้นำทั้งในมีเจ้าอาวาสคือพระอธิการจรูญ  คุณสํวโร ภายนอก มีผู้ใหญ่บ้านคณะกรรมการวัด  ได้ตกลงกันที่จะสร้างองค์พระธาตุขึ้นมาหนึ่งองค์เพื่อที่จะได้เป็นที่กราบไหว้สักการะปูจา อันดับแรกก็ได้ไปปรึกษารองเจ้าคณะอำเภอคือหลวงพ่อพระครูสิริปัญญาวัฒน์วัดดอนตัน ในขณะนั้น  หื้อท่านได้ผูกฤกษ์ผูกดวงหื้อ ก็ได้กำหนดการวันจันทร์ที่ 11  พฤศจิกายน  2545  เวลา เที่ยงกว่า   หลังจากนั้นก็เตรียมพื้นที่ที่จะสร้าง โดยได้กำหนดสร้างทางทิศเหนือของพระอุโบสถ ปรับพื้นที่ และได้นำฐานแท่นแก้วของอุโบสถเก่าบรรจุไว้พื้นดินที่จะทำการวางศิลาฤกษ์ 

 

            ส่วนหนึ่งก็ได้นำแผ่นฤกษ์ไปเจิมกับครูบาอาจารย์ต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภัทโท หลวงปู่ครูบาอิน  อินโท  หลวงปู่ครูบาอินตา  หลวงปู่ครูบาขันธ์  พระครูบาน้อย เป็นต้น  เมื่อได้แผ่นแล้วก็ได้  หาน้ำ 9 แม่ คือ ปิง วัง ยม น่าน พุง กก โขง ฮ่าง เจ้าพระยา  น้ำบ่อทิพย์อีก 9 บ่อ  พร้อมกับพระประจำวัน สิ่งของมีค่า เรือนสำเภาเงินทอง  และพระบรมสารีริกธาตุจากพระครูบาพรชัย 

 

            วันอาทิตย์ที่ 10  พฤศจิกายน 2545  ได้มีการอบรมสมโภชน์พระบรมสารีริกธาตุและแผ่นศิลาฤกษ์ ได้นิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพระพุทธมนต์ เทศนาธรรม  เบิกวาร กวนข้าวทิพย์ตลอดทั้งคืน 

 

            รุ่งช้าของวันจันทร์ที่ 11  พฤศจิกายน  2545 ขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย จุลศักราช 1364 สาธุชนทั้งหลายเตรียมสถานที่  เวลาสายพระสงฆ์เริ่มเจริญพระพุทธมนต์ จำนวน 9 รูป  จากนั้นก็ฉันภัตตาหารเพล  พอถึง เวลาเที่ยงก็เริ่มทำพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยมีพระอธิการจรูญคุณสํวโร เจ้าอาวาส เป็นองค์วางศิลาฤกษ์ บรรจุสิ่งของ

 

            หลังจากนั้นก็ได้เริ่มทำการก่อสร้างฐานองค์พระธาตุ โดยได้รับการบริจาคจากศรัทธาบ้านร้องหลอดเอง และคณะผ้าป่าหลายคณะ ตามโอกาส มีการเปลี่ยนผู้นำชุมชนใหม่หลังจากผู้นำคนเดิมหมดวาระ ก็มีพ่อหลวงราชิต  ปันสุวรรณ รับสานงานการสร้างต่อ  โดยใช้ช่างในหมู่บ้านพร้อมกับแรงงานคนในหมู่บ้านร่วมกันสร้างเป็นหมวดๆ ไป  ต่อมาหมู่บ้านได้แยกการปกครองเป็นสองหมู่บ้านขึ้น ได้มีการเปลี่ยนผู้นำใหม่ขึ้นอีกเป็น 2 ท่าน  คือผู้ใหญ่มา  พันธ์ดี ผู้ใหญ่สาย  ชัยชมพู ช่วยกันดำเนินการสร้างต่อมาเรื่อยๆ ก็ได้ว่าจ้างสล่าล้วนบ้านสันผักฮี้มาเป็นสล่าดำเนินการสร้างต่อ   จนกระทั่งมาถึงยุคของพ่อหลวงสมนึก พรมตัน พ่อหลวงมงคล  แสนงามเมืองคือ ปี 2553 องค์พระธาตุก็แล้วเสร็จ พร้อมที่จะฉลอง 

 

            ก่อนที่จะได้เฉลิมฉลองก็ยังความปีติยินดีแก่สาธุชนบ้านร้องหลอดก็คือการได้รับการพระราชทานนามจากองค์สมเด็จพระสังฆราชประทานนามว่า “พระธาตุจอมเวียงเมืองพาน”  และทรงประทานพระบรมสารีริกธาตุด้วยให้  ณ วันที่ 28  ธันวาคม  2552  ตั้งแต่นั้นมาจึงได้เรียกองค์พระองค์ว่าพระธาตุจอมเวียงเมืองพาน  แทนชื่อที่เรียกเดิมว่าพระธาตุดวงดีศรีแสนสุข

ก่อนการจัดงานปอยก็มีการประชุมกันถึง3-4 ครั้ง ทั้งคณะกรรมการ และทั้งหมู่บ้าน+เพื่อกำหนดการ และแบ่งหน้าที่การงานจึงได้ทำการกำหนดตั้งแต่วันที่ 15  -19  มกราคม 2553  ขึ้น

 

            วันที่ 15 มกราคม 2553  เป็นวันที่สาธุชนบ้านร้องหลอดจะได้ทำการแห่พระบรมสารีริกธาตุ ในช่วงเช้าถวายตานตุง สายหน่อยเตรียมอุปกรต่างๆ คน การแต่งตัว  เวลาเที่ยงไปรวมกันที่ตลาด เวลาบ่ายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบนบุษบกหลังช้าง 1 เชือก พร้อมคณะบวนแบบล้านนา มีผู้เข้าร่วมได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ชมรมผู้สูงอายุ ชมรม อสม ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อปพร  อบต เป็นต้น ร่วมเดินเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร  ในช่วงก่อนที่จะเข้าสู่หมู่บ้านก็เป็นช่วงวันเกิดสุริยปราคาพอดี (ครึ่งเสี้ยว)

 

            วันที่ 26  มกราคม  คณะผ้าป่า ของท่านพลเอกเชษฐา  ฐานจาโร  พลเอกปรีชา ตุลสุวรรณ คุณวราลักษณ์  อินทวงศ์ พร้อมคณะมาร่วมทำบุญ และปิดทองฉัตรพระธาตุ สืบชาตา  จากนั้นชาวบ้านก็เตรียมต้อนรับพี่น้องที่มาร่วมฮอมปอยที่บ้านใครบ้านมัน  วันนี้ทุกคนดีใจที่ถูกเลขช้าง คือ 577 กันทั้งเกือบหมุ่บ้านเลย 

 

          วันที่ 17  มกราคม เช้าทำพิธีบวงสรวง ตอนสายหัววัดเข้าร่วมทำบุญตั้งแต่เช้า ประมาณ 200 กว่าวัด  มีมหรสพต่างๆ ซอ  แห่ ดนตรี ช่างฟ้อนเป็นต้น  ในภาคบ่ายก็เริ่มทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ยกฉัตรและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีหลวงพ่อพระครูธรรมภาณพินิต เจ้าคณะอำเภอประธานฝ่ายสงฆ์ พระอาจารย์สมศรี กัลยาณสิริ เป็นประธานยกฉัตรและพระบรมสารีริกธาตุ  มีส.ส สจ ผู้นำท้องถิ่นมาร่วมพิธี  มีพระอธิการจรูญ คุณสํวโร เจ้าอาวาสเป็นผู้ขึ้นไปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตอนที่บรรจุนั้น ท้องฟ้าเอื้ออำนวย คือ มีเมฆมาช่วยบังให้เกิดความร่มเย็นสบาย  ยังเกิดปีติแก่สาธุชนเป็นอย่างมากที่มาร่วมกัน  ส่วนตอนเย็นก็มีการแห่ครัวทานของแต่ละบ้านแต่ละหลังเข้ามายังข่วงแก้วตังสาม ทั้งมีมหรสพทั้งคืน

 

          วันที่ 18  มกราคม  กลางวันเตรียมงาน สถานที่ที่จะสมโภชน์องค์พระธาตุ และจัดงานข่วงผญ่า ของดีเมืองพานทีนำมาแสดงหลายหมู่บ้าน  ตกเย็นมีการบรรเลงปี่พาทย์ การแสดง หัวค่ำก็ทำวัตรสวดมนต์ ภาวนา สวดมนต์ตั๋น พระเกจิอาจารย์นั่งอธิฐานจิต การเทศนาธรรม สวดเบิก สวดพุทธาภิเษก เที่ยงคืนกวนข้าวทิพย์ และสวดมนต์ เทศน์ แห่สลับกัน ตลอดทั้งคืนไม่มีการหยุดจนถึงรุ่งแจ้ง ก็ทำวัตรสวดมนต์แผ่เมตตา ถวายข้าวมธุปายาส

 

          วันที่ 19  ตอนเช้าทำบุญตักบาตร  ถวายไทยทานแด่พระสงฆ์  พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นเสร็จพิธี  ทุกคนร่วมกันแห่ผ้าห่มพระธาตุ  และห่มผ้าพระธาตุด้วยกัน

 

 

        -ประเพณีจะมีทุกเดือน 5  เหนือ  ออก 3  ค่ำ ทุกปี

bottom of page